เมืองลาฮอร์ เมืองหลวงของจังหวัดปัญจาบในปากีสถาน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าหนึ่งพันปี เดิมทีเมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางที่โดดเด่นในช่วงจักรวรรดิต่างๆ รวมถึงราชวงศ์กัซนาวิดและราชวงศ์โมกุล ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุล เมืองลาฮอร์เจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการเมือง ซึ่งเห็นได้จากสถานที่สำคัญอันเป็นสัญลักษณ์ เช่น ป้อมลาฮอร์และมัสยิดบัดชาฮี การล่าอาณานิคมของอังกฤษได้หล่อหลอมการพัฒนาเมืองนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยทิ้งมรดกของการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบดั้งเดิมและแบบอาณานิคมไว้เบื้องหลัง
การวางผังเมืองในลาฮอร์สะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างอิทธิพลทางประวัติศาสตร์และร่วมสมัย ผังเมืองมีลักษณะผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยโมกุลกับโครงสร้างอาณานิคมอังกฤษและการพัฒนาสมัยใหม่ เมืองเก่าหรือเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบมีลักษณะเฉพาะคือถนนที่แคบและคดเคี้ยวและอาคารเก่าแก่ ในขณะที่พื้นที่ใหม่ เช่น กูลเบิร์กและดีเอชเอ แสดงให้เห็นถึงชุมชนที่มีการวางแผนพร้อมถนนกว้างและพื้นที่สีเขียว ความท้าทายในเมืองล่าสุด ได้แก่ การจัดการการเติบโตอย่างรวดเร็วและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากลาฮอร์ยังคงขยายตัวทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
ด้วยจำนวนประชากรกว่า 13 ล้านคน ลาฮอร์จึงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นและมีชีวิตชีวาที่สุดแห่งหนึ่งของปากีสถาน วิถีชีวิตของเมืองผสมผสานระหว่างค่านิยมดั้งเดิมกับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ เห็นได้ชัดจากตลาดที่คึกคัก เทศกาลทางวัฒนธรรม และอาหารหลากหลาย ชีวิตทางวัฒนธรรมของเมืองนี้ได้รับการเติมเต็มด้วยฉากศิลปะที่มีชีวิตชีวา รวมถึงดนตรี ละคร และวรรณกรรม นอกจากนี้ ลาฮอร์ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการศึกษา โดยมีสถาบันและอุตสาหกรรมมากมายที่ส่งเสริมโครงสร้างเมืองที่เปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ลาฮอร์ (Lahore) เป็นเมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน โดยแม่น้ำราวีเป็นสายน้ำหลักหล่อเลี้ยง เป็นเมืองใหญ่อันดับ 5 ของภูมิภาคเอเชียใต้ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นปัญจาบ ใกล้กับชายแดนรัฐปัญจาบของอินเดีย ลาฮอร์เป็นหนึ่งในเมืองที่ร่ำรวยที่สุดของปากีสถานซึ่งมี GDP เมื่อปี 2560 ประมาณ 173 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคปัญจาบ และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีเสรีนิยมก้าวหน้าและเป็นสากลมากที่สุดในปากีสถาน
ลาฮอร์เป็นเมืองที่สืบเนื่องมาแต่สมัยโบราณ เมืองนี้ถูกเข้าครอบครองโดยอาณาจักรต่างๆ มากมายตลอดช่วงประวัติศาสตร์ รวมถึงฮินดูชาห์ส และสุลต่านนิวเดลี โดยในยุคกลาง ลาฮอร์ถึงจุดสูงสุดของความงดงามภายใต้จักรวรรดิโมกุลระหว่างปลาย ศตวรรษ 16 และต้นศตวรรษที่ 18 และเป็นเมืองหลวงอยู่หลายปี เมืองถูกยึดโดยกองกำลังของจักรพรรดิเปอร์เซีย ในปี พ. ศ. 2282 และตกอยู่ในช่วงของการเสื่อมในขณะที่มีความขัดแย้งระหว่างอำนาจที่ต่างกัน จนกลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิซิกในที่สุดในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และฟื้นฟูความมั่งคั่งขึ้นมาอีกครั้ง
ลาฮอร์ถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิอังกฤษและเป็นเมืองหลวงของอังกฤษ เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา คือ อินเดียประกาศอิสรภาพ และการเรียกร้องของปากีสถานให้มีการจัดตั้งประเทศปากีสถาน ลาฮอร์ประสบความวุ่นวายเลวร้ายที่สุดในช่วงก่อนได้รับอิสรภาพของปากีสถาน หลังจากได้รับเอกราชในปี พ. ศ. 2490 จึงเป็นเมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
บางท่านอาจเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่ลาฮอร์มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง เป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญที่สุดของฉากวรรณกรรม เมืองนี้เป็นที่ตั้งของการจัดเทศกาลวรรณกรรมลาฮอร์ประจำปี ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางวัฒนธรรมชั้นนำของเอเชียใต้ และเมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาในปากีสถาน มีมหาวิทยาลัยชั้นนำตั้งอยู่ในเมือง ทั้งเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศปากีสถาน ได้แก่ Lollywood เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ เมือง Walled City มีวิหารแห่งพระซิกข์และมัสยิดจำนวนมากมายหลายแห่ง ทั้งยังเป็นที่ตั้งของ ป้อมลาฮอร์ และสวนชาลามาร์ ซึ่งทั้งสองแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย
หากย้อนกลับไปก่อนที่อังกฤษจะเข้ามาล่าอาณานิคม ลาฮอร์เคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโมกุล โดยในยุคของจักรพรรดิชาห์ชะฮัน พระองค์เป็นผู้ที่โดดเด่นเรื่องการสร้างสถาปัตยกรรมที่งดงามอย่างทัชมาฮาลในอินเดีย พระองค์ได้สร้างป้อมลาฮอร์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งของมรดกโลก และยังมีพิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในปากีสถาน มีความสวยงามทั้งภายนอกและภายใน เป็นที่จัดแสดงชิ้นงานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งโบราณวัตถุและงานศิลปะ ในสมัยจักรวรรดิโมกุลและซิกข์ รวมทั้งในยุคอาณานิคมที่อังกฤษได้เข้ามาปกครองอีกด้วย
ความงดงามที่ได้รับการถ่ายทอดจากอัจฉริยภาพของคนในยุคเก่า ล้วนสะท้อนผ่านผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ภาพวาด งานวรรณกรรม รวมทั้งศิลปะการตกแต่งสวนที่เลืองชื่อของดินแดนแห่งนี้ ทำให้ลาฮอร์ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งเมืองทั้งปวง” ทั้งมีคำพูดจากโบราณเล่าสืบกันมาว่า “ผู้ใดที่ไม่เคยมาเยือนลาฮอร์ ก็เหมือนไม่เคยมีชีวิตอยู่”
ไม่ไกลจากลาฮอร์นัก มีเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่ง คือ ตักศิลา อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นปัญจาบ เคยเป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปะวิทยาการในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล เป็นต้น
ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่างๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึงซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และประติมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน รัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก
เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น ตักศิลาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2523
ลาฮอร์ และตักศิลา จึงเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดผู้คนให้มาเยือนด้วยเป็นดินแดนเก่าแก่ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องทั้งชาวพุทธ ฮินดิ ชิกส์ และมุสลิม และมีวิหารและอาคารที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและมีเอกลักษณ์ตามชนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่สลับสับเปลี่ยนเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้ ทั้งรวบรวมสิ่งที่น่าสนใจไว้มากมาย
เวลาที่เหมาะที่จะไปเยือน
ปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนเมษายน หรือ กลางเดือนตุลาคม-ปลายเดือนธันวาคม
การทำวีซ่า
การทำวีซ่าปากีสถานและต้องไปแสดงตัวที่สถานทูตปากีสถาน มีจดหมายรับรองการเดินทางท่องเที่ยวจากบริษัททัวร์ในปากีสถานจะทำวีซ่าได้ง่ายขึ้น
สถานทูตปากีสถาน ประจำประเทศไทย: Pakistan Embassy in Thailand
31 ซอยนานาเหนือ 3 สุขุมวิท กทม. 10110
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2253-0288-9, 0-2253-5325
แผนกรับทำวีซ่าจะเปิดให้ทำวีซ่า 09.00-12.00 น. ทุกวันจันทร์ – พฤหัสบดี และรับวีซ่าประมาณ 14.30-15.30 น. ในวันจันทร์-พฤหัส เช่นเดียวกัน